ประวัติ


ประวัติความเป็นมาของบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น

ต้นกำเนิดของบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น

บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เมื่อผู้ก่อตั้ง Masatomo Sumitomo (มาซาโตโมะ ซูมิโตโม) เปิดร้านขายหนังสือและยาในเกียวโต Masatomo (มาซาโตโมะ) ได้เขียนและสืบทอดบันทึกชื่อ "Monjuin Shiigaki (มอนจุอิน ชิอิกาคิ)" (หลักคำสอนของผู้ก่อตั้ง) ให้คนรุ่นหลังเพื่ออธิบายวิธีการที่ผู้ประกอบการควรใช้ในการทำธุรกิจ ซึ่งเป็นรากฐานของปรัชญาการดำเนินธุรกิจของบริษัทซูมิโตโมที่ให้ความสำคัญกับการบริหารที่ดีและมีคุณธรรม มากกว่าการแสวงหาผลประโยชน์จากการเอารัดเอาเปรียบ และคำสอนเหล่านี้ก็ได้ถูกสืบทอดมายังรุ่นหลังและเป็นที่ยึดถือปฏิบัติในกลุ่มบริษัทซูมิโตโม มาจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจถลุงทองแดงของบริษัทซูมิโตโม เริ่มต้นโดย Tomomochi (โทโมโมจิ) ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมและเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูล โดยบิดาผู้ให้กำเนิด Tomomochi (โทโมโมจิ) เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีการถลุงที่เรียกว่า "Nanban-buki (การถลุงแบบตะวันตก)" ขึ้นในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสกัดเอาเงินออกมาจากทองแดง Tomomochi (โทโมโมจิ) ได้สืบทอดปรัชญาการดำเนินธุรกิจและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ Masatomo (มาซาโตโมะ) ผู้ก่อตั้ง โดยหลังจากนั้น ธุรกิจของบริษัทซูมิโตโมก็ได้เติบโตโดยการมุ่งเน้นไปที่การทำเหมืองทองแดงและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กลุ่มบริษัทซูมิโตโมได้กลายมาเป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นในหลากหลายภาคธุรกิจ เช่น การเงิน ประกันภัย การผลิต อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ โดยการปฏิบัติตามหลักยึดถือที่ว่า "สร้างคุณประโยชน์ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน" และ "การวางแผนโดยการมองการณ์ไกล (Planning imbued with a farsighted perspective)" ซึ่งเน้นความสำคัญของการทำเพื่อสังคมและจิตวิญญาณที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่นพร้อมเผชิญกับอุปสรรค โดยมีบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น เป็นบริษัทหลักในกลุ่ม

ประวัติของซูมิโตโม

การเริ่มต้นของบริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น และการก้าวเข้าสู่ธุรกิจการค้า

บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1919 ในชื่อเดิมว่า บริษัท โอซาก้านอร์ธฮาร์เบอร์ จำกัด ดำเนินการจัดการอสังหาริมทรัพย์ การปรับปรุงที่ดินบริเวณฮอกโค (ท่าเรือทางเหนือของโอซาก้า) และการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ รวมถึงการดำเนินธุรกิจอื่น ๆ ในปี 1944 บริษัทได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท เดอะ ซูมิโตโม บิวดิ้ง จำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซูมิโตโม เรียลเอสเตท บิลดิ้ง จำกัด ต่อมาในพฤศจิกายน ปี 1945 บริษัทได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น บริษัท นิปปอนเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และก้าวเข้าสู่ธุรกิจการค้า โดยบริหารจัดการผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยกลุ่มบริษัทในเครือ จากนั้นบริษัทเริ่มมุ่งเน้นด้านการค้า โดยมองหาลู่ทางในการขยายทั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่บริษัทมีการซื้อขาย และกลุ่มอุตสาหกรรมที่บริษัทดำเนินธุรกิจอยู่ จนกระทั่งในปี 1949 บริษัทได้จดทะเบียนซื้อขายหุ้นสามัญในตลาดหลักทรัพย์โตเกียว, โอซาก้า และนาโกย่า

สำนักงานใหญ่ของโอซาก้านอร์ธฮาร์เบอร์ (อาคาร Sumitomo Sohonten Annex, เดิมเป็นโรงละครเทโคคุสะ) [พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของ Sumitomo]

ช่วงแรก - การวางรากฐานการบริหารที่มั่นคง (ทศวรรษ 1950)

ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงแรก คือความจำเป็นในการวางรากฐานการบริหารจัดการของบริษัทให้มีความมั่นคง Shunya Toji (ชุนยะ โทจิ) ประธานของ บริษัท นิปปอนเอ็นจิเนียริ่ง ในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นประธานคนแรกของ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ได้กล่าวให้กำลังใจแก่พนักงาน "มือสมัครเล่น" ซึ่งไม่ค่อยมีประสบการณ์ในธุรกิจการค้า ว่า "มือสมัครเล่นที่มีความกระตือรือร้นในการทำงานสามารถสร้างผลงานได้ดีกว่ามืออาชีพ” และพยายามสร้างการบริหารที่ดีด้วยการควบคุมดูแลการบริหารสินเชื่ออย่างรัดกุม ร่วมกับการใช้วิธีอื่น ๆ โดยบริษัทได้ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มส่งพนักงานคนหนึ่งไปที่บอมเบย์ (มุมไบในปัจจุบัน) เป็นครั้งแรกในปี 1950 และจัดตั้งบริษัทสาขาที่นิวยอร์กในปี 1952 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ซูมิโตโม โชจิ จำกัด ในปี 1952 และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฟุคุโอกะในปี 1955

การปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อการขยายบริษัท (ทศวรรษ 1960)

บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันยอดขายให้กลายเป็นหนึ่งในสามบริษัทการค้าที่ใหญ่ที่สุด ภายใต้สโลแกนที่ว่า "Big Three" พร้อมกับการเพิ่มยอดขายเฉลี่ยต่อคน ในปี 1962 สำนักงานขายเมืองโอซาก้าและเมืองโตเกียวถูกควบรวม และเริ่มใช้โครงสร้างกลุ่มผลิตภัณฑ์ 9 กลุ่ม ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า, อโลหะ, ไฟฟ้า, เครื่องจักร, การเกษตรและการประมง, เคมี, สิ่งทอ, ผลิตภัณฑ์ทั่วไปและเชื้อเพลิง และอสังหาริมทรัพย์ ต่อมาในปี 1967 ได้มีการจัดตั้งทีมโครงการขึ้นเพื่อส่งเสริมโครงการขนาดใหญ่ การพัฒนาทรัพยากร และการบุกเบิกอุตสาหกรรมใหม่จากการทำธุรกิจ Cross-Divisional และมุมมองในระยะกลางถึงระยะยาว (Medium- to Long-Term Perspective)

การจัดตั้งรากฐานการบริหารในฐานะบริษัทการค้าแบบครบวงจร (ทศวรรษ 1970)

ในปี 1970 อาคาร ซูมิโตโม โชจิ แห่งใหม่ได้สร้างเสร็จและกลายเป็นอาคารสำนักงานใหญ่โตเกียว ซึ่งเป็นการสร้างโครงสร้างแบบมีสำนักงานใหญ่ 2 แห่งคือในโตเกียวและในโอซาก้า ในปีเดียวกันบริษัทได้ควบรวมกิจการกับ บริษัท โซโก โบเอคิ จำกัด ต่อมาในปี 1977 บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทอันดับ 1 ในการประเมินผลโดยรวมตามเกณฑ์ทางการเงินและธุรกิจ ตลอดจนการได้รับการสนับสนุนจากประชาชนภายใต้สโลแกน "Big Three & The Best" จนในช่วงกลางทศวรรษ 1970 สำนักงานในต่างประเทศมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 100 แห่ง และในปี 1978 บริษัทได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก Sumitomo Shoji Kaisha, Ltd. เป็น Sumitomo Corporation (ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น) จากนั้นในปี 1979 ได้เริ่มใช้ระบบแผนกขายเพื่อสร้างแผนกขายขึ้นมา 4 แผนก ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า, เครื่องจักรและไฟฟ้า, โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก สารเคมีและเชื้อเพลิง, และสินค้าอุปโภคบริโภค และเสริมสร้างศักยภาพของแต่ละแผนก เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปีการก่อตั้งบริษัท ได้มีการสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ เช่น การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกิจกรรมทางธุรกิจในต่างประเทศและการบุกเบิกพื้นที่ใหม่ ๆ อย่างจริงจังภายใต้สโลแกน "Open Eyes on All"

วิสัยทัศน์ขององค์กรธุรกิจแบบบูรณาการ (Integrated Business Enterprise) (ทศวรรษ 1980)

ในปี 1988 บริษัทได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการเป็นองค์กรธุรกิจแบบบูรณาการ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจนอกเหนือจากธุรกิจการค้าที่มีอยู่ เพื่อขยายฐานรายได้ออกไปโดยมีแหล่งรายได้หลัก 2 แหล่ง ได้มีการปรับเปลี่ยนใช้สโลแกนใหม่เป็น "Seeing Tomorrow, Innovating Today" และได้จัดทำงบการเงินรวมในงบการเงินปี 1989

การสร้างความแข็งแกร่งในด้านการบริหารจัดการแบบควบรวมทั่วโลก - การจัดตั้งพันธกิจขององค์กร (ทศวรรษ 1990)

ในปี 1991 ได้มีการจัดทำแผนการบริหารระยะกลาง "Strategy 95" เพื่อทำวิสัยทัศน์ขององค์กรธุรกิจแบบบูรณาการให้เป็นจริง ต่อมาในปี 1994 ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างรายได้ใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์ภายใต้สโลแกน "Global Mind, Global Reach" และจากบทเรียนที่ได้รับจากเหตุการณ์การซื้อขายทองแดงแบบผิดกฎหมายในปี 1996 จึงได้นำระบบการควบคุมภายในที่เข้มงวดมาใช้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำในลักษณะเดียวกันขึ้นอีก จนกระทั่งในปี 1998 ได้มีการกำหนดพันธกิจขององค์กร และใช้อัตราส่วนผลตอบแทนหลังปรับค่าความเสี่ยง (Risk-Adjusted Return) เป็นตัวชี้วัดการบริหารแบบใหม่

การดำเนินการตามแพคเกจการปฏิรูป (Reform Package) - มุ่งไปสู่ภาวะการเติบโต (ทศวรรษ 2000)

หลังจากที่เริ่มใช้แพคเกจการปฏิรูปในปี 1999 บริษัทได้ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินโดยการจัดลำดับความสำคัญของธุรกิจและปรับปรุงความสามารถในการสร้างกำไร รวมถึงเสริมสร้างรากฐานทางธุรกิจด้วยการเพิ่มและปรับปรุงคุณภาพสินทรัพย์หลัก ภายใต้ชุดแผนการบริหารระยะกลาง 2 ปี ("Step Up Plan", "AA Plan", "AG Plan", "GG Plan", "FOCUS'10" และ "f(x)") ต่อมาในปี 2001 ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ชูโอ-คุในเมืองโตเกียว จากนั้นได้มีการจัดตั้งหลักการกำกับดูแลกิจการของ บริษัท ซูมิโตโม คอร์ปอเรชั่น ในปี 2003

การครบรอบ 100 ปี และอีก 100 ปีข้างหน้า (ทศวรรษ 2010)

ในปี 2013 เพื่อเร่งสร้างรายได้รวมทั่วโลก บริษัทได้นำระบบ "Broad Regional Management System" เข้ามาใช้
ในปี 2017 เพื่อให้บรรลุความยั่งยืนในฐานะองค์กรและเพื่อนำเสนอแนวทางในการแก้ไขประเด็นทางสังคม จึงได้มีการกำหนด “ประเด็นสำคัญ 6 ข้อ เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกันกับสังคม” ขึ้น ในปี 2018 มีการย้ายสำนักงานใหญ่อีกครั้ง ครั้งนี้ไปที่โอเทะมาจิ และเราได้เริ่มวางแผนการปฏิรูปรูปแบบการทำงาน
ในปี 2019 บริษัทได้สร้างสารใหม่ขององค์กร ซึ่งก็คือ "Enriching lives and the world" ขึ้น และฉลองครบรอบ 100 ปี

การยกระดับการบริหารจัดการความยั่งยืน และการสร้างธุรกิจยุคต่อไป (ทศวรรษ 2020)

หนึ่งในความพยายามของเราเพื่อยกระดับการบริหารจัดการความยั่งยืน ในปี 2020 เราได้ระบุประเด็นสำคัญทางสังคม 6 ข้อ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับบริษัทของเรา พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่เชื่อมโยงกับประเด็นเหล่านี้ และในปีถัดมา เราได้กำหนดเป้าหมายระยะกลางที่เชื่อมโยงกันขึ้น ในเดือนเมษายน 2021 เราได้ก่อตั้งโครงการริเริ่มนวัตกรรมด้านพลังงาน ซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจใหม่ที่ก้าวข้ามกรอบการทำงานของหน่วยงานแบบเดิม นอกจากนี้ เรายังได้ประกาศแผนการบริหารจัดการระยะกลางฉบับใหม่ที่เรียกว่า "SHIFT 2023" ซึ่งภายใต้แผนดังกล่าว เราจะปรับเปลี่ยนกลุ่มธุรกิจ และกรอบการทำงานของเรา พร้อมทั้งดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างอื่นๆ อีกด้วย

Top